สิทธิผู้สูงอายุ

Last updated: 28 เม.ย 2566  |  1744 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สิทธิผู้สูงอายุ

รู้เท่าทัน #สิทธิผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง ?
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของคนไทยทุกกลุ่มทุกวัย และในส่วนของผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะข้าราชการบำนาญ ประกันสังคม และบัตรทอง ล้วนมีสิทธิรับบริการทางการแพทย์ ดังนี้
ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
ตรวจประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)
ตรวจวัดดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต
ตรวจเลือดคัดกรองเบาหวาน เอชไอวี
คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
คัดกรองโรคซึมเศร้า
ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (50-70 ปี)
การเคลือบฟลูออไรด์
การให้ความรู้ออกกำลังกาย และฝึกสมองป้องกันโรคสมองเสื่อม
การให้ความรู้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง
การให้คำปรึกษาแนะนำด้านสุขภาพ
การตรวจความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน
บริการสายด่วนเลิกบุหรี่ (บริการสายด่วนเลิกบุหรี่จะเลิกภายหลังจากที่ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบบัตรทองแล้ว)
นอกจากสิทธิสวัสดิการด้านสุขภาพของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทางกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดสิทธิและสวัสดิการผู้สุงอายุในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้
1. #เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จัดสรรให้ผู้สูงอายุทุกคนแบบขั้นบันได คือ
อายุ 60-69 ปี ได้รับ 600 บาทต่อเดือน
อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาทต่อเดือน
อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800 บาทต่อเดือน
อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน
2. ลดราคาค่าโดยสาร ปัจจุบันมีการลดค่าโดยสารให้แก่ผู้สูงอายุมากถึง 50% เช่น
รถโดยสารประจำทาง รวมถึงเรือโดยสาร ลดค่าโดยสาร 50% พร้อมแสดงบัตรประชาชน
#รถไฟฟ้า MRT ลดค่าโดยสาร 50% ทุกเส้นทาง
รถไฟฟ้า BTS-แอร์พอร์เรลลิงก์ ซื้อบัตรโดยสารประเภทผู้สูงอายุ ได้รับส่วนลด 50%
#รถทัวร์ บขส. ได้รับส่วนลด 50%
#รถไฟ มีส่วนลด 50% ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายนของทุกปี
3. #ลดหย่อนภาษี บุตรที่เลี้ยงดูบิดามารดา สามารถขอลดหย่อนภาษี จำนวน 30,000 บาทต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อปี
4. #ปรับสภาพที่อยู่อาศัย เปิดให้ผู้สูงอายุที่ยากจน มีที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงและเหมาะสม สามารถขอปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมและปลอดภัย กับหน่วยงานบริการ ได้แก่ กรม ผส. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เพื่อพิจารณา และจัดสรรในอัตราเหมาจ่าย 22,500 บาท หรือ 40,000 บาท
5. #กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ผู้สูงอายุที่ยังสามารถประกอบอาชีพได้ แต่ไม่มีเงินทุน สามารถยื่นกู้ยืมเงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนผู้สูงอายุได้ ดังนี้
รายบุคคล ได้วงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
รายกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 5 คน ได้วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
แต่ทั้งหมดเป็นการกู้ที่ต้องมีผู้ค้ำประกัน และต้องชำระคืนทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 ปี
6. #สิทธิทางอาชีพ ภาครัฐโดย กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร จัดบริการให้คำปรึกษา แนะนำ และรับสมัครงานสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งจัดอบรมฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ
7. #สิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจุบันพื้นที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ฯลฯ ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น ลิฟท์ ราวบันได ทางลาด ที่จอดรถ ห้องน้ำ ฯลฯ
8. #สิทธิทางการศึกษา ปัจจุบันสำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ ได้พัฒนาหลักสูตรบริการทางการศึกษา เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
9. #สิทธิทางการแพทย์ ผู้สูงอายุสามารถเข้ารับบริการและดูแลสุขภาพต่าง ๆ ผ่านช่องทางพิเศษ
10. #การช่วยเหลือทางกฎหมาย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ และดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เช่น สนับสนุนเงินค่าใช่จ่ายการจ้างทนาย ค่าทำเนียมขึ้นศาล ค่าวางเงินประกันปล่อยตัวชั่วคราว เป็นต้น
11. #ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ ผู้สูงอายุสามารถเข้าชมฟรี เช่น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น
12. #มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม เปิดให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น สถานกีฬาต่าง ๆ ส่วนศูนย์กีฬาในร่ม ได้ลดค่าสมัครสมาชิก 50%
13. #การสงเคราะห์ช่วยเหลือ มีบริการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรม ถูกทอดทิ้ง ถูกหาประโยชน์ ด้วยการนำไปรักษาพยาบาล ดำเนินคดี จัดหาที่พักอาศัยปลอดภัย ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ
และนี่คือสิทธิสวัสดิการที่ #ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปของประเทศไทยจะได้รับ เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ใครที่มีผู้สูงอายุอยู่ในการดูแลสามารถพาไปรับบริการรักษาพยาบาลหรือความช่วยเหลือตามสิทธิประโยชน์ในข้างต้นได้เลย
อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้