วิธีเลือกซื้อรถเข็นของ

วิธีเลือกรถเข็นไว้ใช้ในบ้านสักตัว  

วันนี้ happymove จะบอกทิป7 ข้อ ในการเลือกซื้อรถเข็น เป็นเคล็ดลับง่ายๆ ดังต่อไปนี้

1.       ใช้งานแล้วปวดหลังมั้ย ใครจะคิดว่า การยกรถเข็นขึ้นรถ ลงรถ จะทำให้ปวดหลัง ใช่ครับ ถ้ามันเบา แต่ถ้ามันหนัก มันปวดหลังแน่ๆ ดังนั้นควรเลือกที่น้ำหนักเบาไว้ก่อน แต่ถ้าเบามาก ก็ไม่แข็งแรงนะครับ เดี๋ยวเราจะคุยในหัวข้อต่อไป

2.       ใช้งานแล้วหนวกหูมั้ย เข็นในที่เงียบๆ แล้วปวดหัวมั้ย ใครจะเชื่อ รถเข็นที่ใส่ล้อด้อยคุณภาพ จะมีเสียงดังน่ารำคาญมากๆ ถ้าคุณภาพแย่มากๆและรับน้ำหนักมาก อาจดังจนเกินมาตรฐานความปลอดภัย

3.       ทำร้ายทำลาย พื้นที่ๆใช้งานมั้ย ถ้าใส่ล้อยางสีดำ หรือล้อเนื้อแข็ง แน่นอนว่าพื้นเลอะ พื้นเป็นรอย แถมเอาไปใช้ที่ห้าง ก็จะเจอยามบอกว่าห้ามเข้าเพราะทำพื้นเขาเสีย / มีใส่ตัวป้องกันแฮนด์มั้ย เพราะเวลาเรายกไปใช้ที่ไหน เรามักจะคว่ำรถ เพื่อไม่ให้รถเข็นวิ่งไปไหน อย่าลืมว่าเวลาคว่ำ ตรงแฮนด์จะขูดกับพื้นตรงนั้น

4.       เข็นง่าย เข็นเบามั้ย มีระบบลูกปืนที่ล้อหรือเปล่า ถ้ามีมีลูกปืนจำนวนเท่าไร ยิ่งมากยิ่งดี

5.       ทนทานมั้ย บุบง่ายมั้ย ทนต่อสนิมมั้ย หรือล้อมีการหมดอายุมั้ย แตกมั้ย

6.       มีอะไหล่บริการมั้ย ถ้ามีอะไรเสีย

วิธีการเลือกรถเข็น แบบทฤษฏี

ลูกล้อ ลูกล้อเป็นหัวใจของรถเข็นเลย เป็นตัวที่จะทำให้รถเข็นคันนั้น เข็นยากหรือเข็นง่าย , เข็นแล้วเงียบ หรือเข็นแล้วเสียงดัง , เข็นแล้วพื้นเป็นรอยหรือปล่าว ข้อนี้สำคัญสำหรับคนที่จะเอาไปใช้ในห้างด้วย เพราะห้าง เขาห้ามล้อบางประเภทเข็นเข้าไป เพราะจะทำให้พื้นเขาพัง ซึ่งถ้าเราเอาเข้าไปใช้โดยที่ รปภ ไม่เห็น แล้วมาพบที่หลังก็จะแย่หน่อย อาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เดี๋ยวยาวครับ ง่ายๆ ในการเลือก ลูกล้อคือ

a.       พยายามเลือกล้อที่มีระบบลูกปืนที่ล้อ จะทำให้เข็นเบา

b.       เลือกล้อที่ผิวไม่แข็งเพราะพื้นทั่วไปจะแข็งยกเว้นพรม เวลาเข็นแล้วเสียงจะดัง

c.       ไม่ควรเป็นยางสีดำ เพราะจะทำให้พื้นเลอะเวลาวิ่งผ่าน และพยายามหลีกเลี่ยงล้อที่ไม่ใช่ยางแต่ผิวดำเงาหรือพวกล้อ พียู เพราะเวลาพียูหมดอายุมันจะแตก แล้วจะเหลือแต่แกนล้อ ซึ่งแกนล้อจะมีลักษณะแข็งจะทำให้พื้นเป็นรอย และมีเสียงดัง

ถ้ายังไม่เข้าใจ ลองติดตามที่เคยแจ้งในคลิปเรื่องลูกล้อ แล้ว (มีลิงค์ไปดูที่คลิปนั้น) ใครยังไม่ได้ดูลองหาดูใน youtube หรือ fb นะครับ

7.       วัสดุพื้นรถ ณ ปัจจุบันมี อยู่ 3 วัสดุใหญ่ ๆ คือ เหล็ก แสตนเลส พลาสติก

a.       เหล็ก ข้อดีราคาไม่สูง เป็นแบบที่ทุกคนนิยมใช้ เพราะใช้กันมานาน แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถเช็คความหนาของเหล็กได้ ว่าเป็นเหล็กบางหรือหนา ต้องลองชั่งน้ำหนัก ว่าถ้าหนักมาก ก็อาจสรุปได้ว่ามีเนื้อเหล็กเยอะ น่าจะหนา , เวลาของหล่นใส่ ก็อาจบุบ และมีสิทธิ์เป็นสนิมได้ อีกเรื่องครับ ถ้าหนักมากเวลายกขึ้นยกลงจากรถ ก็ปวดหลังเอาง่ายๆ และเวลาบรรทุกไปใช้งานที่ไหน ก็เปลืองน้ำมันนะครับ

b.       แสตนเลส ข้อดีคือกันสนิมได้ ถ้าเป็นเกรด 304 ซึ่งเป็นเกรดที่ทั่วโลกยอมรับ แต่ถ้าไม่ใช่เกรดนี้ ใช้ไปซักพักก็จะขึ้นสนิมส้มๆเป็นทางๆ นอกจากเกรดแล้ว ก็คือเรื่องความหนาบางของแสตนเลส ราคาจะถูกจะแพงอยู่ตรงนี้ ข้อเสียจะเป็นเรื่องราคาสูงกว่าเหล็ก เวลาของหล่นใส่ ก็อาจบุบได้

c.       พลาสติก หรือ ไฟเบอร์ คือจะมาเติมเต็มข้อดีข้อเสียของ วัสดุเหล็กและแสตนเลส คือ ราคาไม่สูงมาก ไม่เป็นสนิม ของหล่นใส่ไม่บุบ ไม่มีเสียงกังวานจากตัวมันเองเวลาเข็นชนสิ่งกีดขวาง น้ำหนักเบายกขึ้นรถง่าย ไม่ปวดหลัง ส่วนข้อเสีย ก็จะเป็นเรื่องของวัสดุ หากใช้วัสดุรีไซเคิล ก็จะแตกง่าย โดยมาก ถ้าวัสดุเป็นสีดำจะใช้เป็นสีดำ เพราะวัสดุรีไซเคิล เลือกสีไม่ค่อยได้

8.       อะไหล่หาซื้อได้มั้ย หรือไม่มีถ้าเสียแล้วต้องทิ้งเลย เราคงไม่อยากทิ้งของที่เสียถ้ามันมีอะไหล่ซ่อมได้ ใช่มั้ยครับ ลองสอบถามกับผู้ขายก่อนว่า อะไหล่ ได้แก่ ชุดแฮนด์ หรือ ลูกล้อ หรือแม้แต่ พื้นรถ มีขายเป็นอะไหล่มั้ย ถ้ามีก็จะช่วยเราประหยัดได้ในระยะยาว

เอาล่ะครับ แค่กฎ 3 ข้อนี้ ก็เอาไปช่วยเลือกซื้อรถเข็นคันต่อไปของคุณได้ไม่มากก็น้อย ถ้าหากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม ก็ลองอินบ็อกซ์มาถามได้นะครับ  สำหรับวันนี้ happy move ขอลาไปก่อนสวัสดีครับ


เลือกรถเข็น ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

          รถเข็นเป็นอุปกรณ์พื้นฐานชนิดหนึ่ง ที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ขอบเขตการใช้งาน มีตั้งแต่การใช้ส่วน ตัวในบ้านที่     อยู่อาศัย ในห้างร้าน ในตลาด  ในสำนักงาน ในโรงงาน และในคลังสินค้า แทบจะกล่าวได้ว่า สามารถพบเห็นการใช้งานรถเข็นได้ทุกแห่งหน

          รถเข็นเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานสะดวกคล่องตัวเป็นสำคัญ  เนื่องจากโครงสร้างติดล้อ ทำให้สามารถรับรองสิ่งของ  และเคลื่อนตัวไปได้ง่าย     ช่วยผ่อนแรงได้ระดับหนึ่ง  แต่ผู้ใช้ยังคงต้องออกแรงไม่ น้อยเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้    รถเข็นโดยทั่วไป    จึงรับน้ำหนักระหว่าง 100-300 กก.   รถเข็นขนาดใหญ่   อาจรับน้ำหนักได้สูงสุด ถึง 500 กก. หากน้ำหนักสูงเกินนี้ ก็ยากที่คนทั่วไปจะเข็นได้ รถเข็นที่ใช้งานกันทั่วไป สามารถแบ่งประเภทตามโครงสร้างใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท เช่น

1.ประเภทล้อเลื่อนไม่มีมือจับ  :  เป็นพื้นหรือโครงติดล้อ 4 ลูก ไว้สำหรับวางสิ่งของ ส่วนใหญ่ใช้ในพื้นที่ บริเวณแคบๆ เป็นการใช้งานในลักษณะขยับไปมา เช่น รถเข็นดอลลี่พลาสติก รถเข็นดอลี่อลูมิเนียม รถเข็นดอลลี่แบบเหล็ก

2.ประเภท 2 ล้อ มักเป็นรถเข็นที่มีโครงรถในแนวตั้ง สูงระดีบมือคน เหมาะที่จะรับขนส่งสิ่งของทั่วไป บนพื้นที่ทางแคบ หรือพื้นที่ไม่เรียบเสมอกัน เช่น รถเข็นอลูมิเนียมพับได้ 2 ล้อ รถเข็นผัก รถเข็นเหล็ก

 

3.ประเภท 4 ล้อ เป็นรถเข็นที่มีพื้นที่วางตามแนวราบ สามารถวางสิ่งของชิ้นใหญ่ หรือจำนวนมากและรับน้ำหนักได้มาก มักจะใช้ในพื้นที่ราบ และต้องการเข็นไปไกล  เช่น รถเข็นช้อบปิ้งที่ใช้ในห้างสรรพสินค้า รถเข็นพลาสติก รถเข็นเหล็ก 4 ล้อ รถเข็นอลูมิเนียม รถเข็นที่ใช้ในโรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม

เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ขนาดเบา รถเข็นจึงมักจะถูกออกแบบ หรือดัดแปลงโครงสร้างให้เหมาะกับงานต่ละประเภทได้ ง่าย และเลือกใช้วัสดุต่างกัน  ในการทำรถเข็น ทำให้รูปแบบรถเข็นและการใช้งานที่ หลากหลาย

การเลือกรถเข็นจึงต้องพิจาณาถึงปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้

1.สิ่งของที่ต้องการวางบนรถเข็น ซึ่งจะต้องดูว่าจะใช้กับของชนิดไหน เช่น  เป็นอาหาร  ของใช้ เป็นสินค้าที่มีหีบห่อ ฯลฯ   มีขนาดใหญ่  เล็กเพียงใด    และต้องการใส่จำนวนมากน้องเพียงงใด เป็นเงื่อนไขประการแรกที่เลือกใช้รถเข็นที่ทำ จาก วัสดุต่างกัน โครงสร้างต่างกัน เช่น รถเข็นสแตนเลส รถเข็นเหล็ก  รถเข็นพลาสติก รถเข็นชั้นเดียว 2 ชั้น หรือ 3 ชั้น

2.น้ำหนักโดยรวมของสิ่งของที่จะใช้เข็น ต้องเลือกให้เหมาะกับขีดความสามารถของตัวรถ เช่น รถขนาดเล็กรับ น้ำหนัก 150 กก. หรือขนาดใหญ่  รับน้ำหนัก 300 กก.

3.สถานที่ และพื้นที่การใช้งาน  การใช้งานในอาคาร   ในคลังสินค้า    นอกอาคาร   ในสำนักงาน ในตลาด พื้นที่สะอาด พื้นที่ ขรุขระ  ฯลฯ

4.ระยะทางใกล้ หรือ ไกล  เป็นปัจจัยในการเลือกรถเข็น ว่าจะใช้แบบ 2 ล้อ หรือ แบบ 4 ล้อ

5.ความถี่ในการใช้งาน  หากใช้งานตลอดเวลาต้องพิจาณาถึงความแข็งแรง และขนากล้อ เพื่อให้สามารถผ่อนแรงและรุ่นที่ทนทานแบบงานหนัก

 

 

จะซื้อรถเข็นของไว้ใช้อำนวยความสะดวกสักคน ทำไมมีหลายราคาจัง ซื้อแบบถูกที่สุดดีมั้ย? มาลองอ่านบทความนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ให้เลือกได้เหมาะกับงานของคุณมากที่สุด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้